ทำไมจึงเป็นเคอร์คูมิน?

เคอร์คูมิน
ตัวยามหัศจรรย์สู่การมีสุขภาพผิวที่ดี
และเพื่อผิวเปล่งประกายงดงาม

ด้วยแรงบันดาลใจจากยาตำรับไทยเดิม “ทาชา มิราเคิล เซรั่ม” ได้นำเอาสรรพคุณที่โดดเด่นด้านการปลอบประโลมผิวของขมิ้นชัน

โดยการสกัดโมเลกุลสารที่ทรงพลังของขมิ้นชันออกมา นั่นคือเคอร์คูมิน

เซรั่มนี้จึงอุดมไปด้วยคุณประโยชน์จากธรรมชาติที่สามารถปรับเปลี่ยนสภาพผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ทำได้อย่างไร?

การค้นพบเทคโนโลยีอันล้ำหน้าของเรา ช่วยส่งเสริมสรรพคุณของเคอร์คูมินได้อย่างดีเยี่ยม โดยการกักเก็บโมเลกุลอันทรงคุณค่าของสารสกัดเคอร์คูมินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการซึมซาบสู่โครงสร้างผิวชั้นใน ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมในการบำรุงผิว

ทำไมจึงเป็นเคอร์คูมิน?

เคอร์คูมิน เป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่เปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาไทยโบราณและได้รับความไว้วางใจมาหลายยุคหลายสมัย อีกทั้งยังได้รับการรับรองผลทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เคอร์คูมินจึงเป็นกุญแจสำคัญที่เปิดประตูไปสู่สุขภาพผิวที่ดีที่สุดอย่างที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อน

“ทาชา มิราเคิล เซรั่ม” เป็นเซรั่มบำรุงผิวที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผิวสวยจากภายนอก แต่ยังช่วยดูแลสุขภาพผิวให้ดีจากภายใน เคอร์คูมินจึงเป็นตัวยามหัศจรรย์อย่างแท้จริง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้…

มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ: คุณสมบัติต้านการอักเสบ[1] ของเคอร์คูมิน ช่วยบรรเทาการระคายเคืองทั้งภายในและภายนอก โดยลดอาการเห่อและอาการแดงของผิวหนัง สารสกัดจากสมุนไพรนี้จึงช่วยให้ผิวพรรณเรียบเนียนขึ้นได้ นอกจากนี้ สารอันทรงพลังชนิดนี้ยังแสดงให้เห็นว่าสามารถลดอาการปวดบวมตามข้อ[2] ได้อีกด้วย

ช่วยซ่อมแซม: สรรพคุณด้านการฟื้นฟูของเคอร์คูมินช่วยเร่งกระบวนการเยียวยา ตัวยาจากธรรมชาติชนิดนี้อาจช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นได้ และช่วยการสร้างกล้ามเนื้อขึ้นใหม่หลังเกิดบาดแผลและเป็นสิวเห่อบนผิว[3]

ชะลอวัย: เคอร์คูมินแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพด้านการชะลอวัย โดยการพยุงและเสริมโครงสร้างผิวชั้นในให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน[4] สารสกัดชนิดนี้จึงช่วยฟื้นฟูความยืดหยุ่นของผิวและลดอาการหย่อนคล้อย ริ้วรอยร่องตื้นและริ้วรอยร่องลึก[5] ที่เกิดจากแสงยูวีอีกด้วย

ปกป้องผิวจากการถูกทำลาย: เคอร์คูมินเป็นสารสกัดที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์ด้วยการกำจัดสารอนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย[6] พร้อมป้องกันผิวจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียดซึ่งมีอยู่รอบตัวเรา เช่น รังสียูวี เคอร์คูมินจึงมีศักยภาพในการปกป้องผิวจากการถูกทำลาย และคืนสภาพผิวให้กลับมาดีดังเดิม

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ: เคอร์คูมินมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ[7] ซึ่งมีสรรพคุณในการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง มีความสามารถในการต่อสู้โรคภัย ซึ่งอาจช่วยลดผลกระทบของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์[8] โรคมะเร็ง[9] และโรคหลอดเลือดหัวใจ[10]

ทำให้ผิวกระจ่างใสและมีภาวะสมดุล: เคอร์คูมินควบคุมการหลั่งน้ำมันซีบัม[11] และการผลิตน้ำมันของผิวให้มีความสมดุล สารสกัดจากสมุนไพรชนิดนี้ผ่านการพิสูจน์แล้วว่า สามารถทำให้ผิวกระจ่างใสได้ภายในระยะเวลาเพียง 3 สัปดาห์[12] เมื่อใช้เป็นประจำ

ผลต่อการรู้คิดของสมอง: เคอร์คูมินสนับสนุนการทำงานของสมองในเรื่องการรู้คิด การเรียนรู้ และความจำ สารสกัดชนิดนี้แสดงให้เห็นว่าช่วยเพิ่มระดับการสร้างโปรตีนที่กระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ของสมอง ซึ่งมีศักยภาพในการป้องกันโรคทางสมอง[13] และบรรเทาอาการซึมเศร้า[14]

ช่วยย่อยอาหาร: เคอร์คูมินส่งเสริมการย่อยอาหารอย่างมีพลานามัยดี โดยการลดการอักเสบ[15] ของลำไส้ มีคุณสมบัติต้านเชื้อรา และยังช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ รวมทั้งช่วยเคลือบกระเพาะเพื่อป้องกันอาการระคายเคือง[7]

ส่งเสริมพลานามัยของอวัยวะต่างๆ: เคอร์คูมินมีส่วนทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ดี โดยการสนับสนุนกระบวนการปกป้องร่างกายจากโรคต่างๆ สารสกัดชนิดนี้สามารถหยุดยั้งสารก่อมะเร็งในตับ[3] และช่วยฟื้นฟูสภาพตับที่เกิดความเสียหายจากการรับประทานอาหาร[16] เคอร์คูมินยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพของหัวใจด้วยการยับยั้งการรุกรานของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้อีกด้วย

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน: เคอร์คูมินช่วยรักษาสมดุลในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถในการยับยั้งและป้องกันร่างกายจากสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เคอร์คูมินมีศักยภาพในการรักษาโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติต่างๆ ด้วย[17]

References:

  • Luthra, P., Singh, R. and Chandra, R. (2001). Therapeutic uses of Curcuma longa (turmeric). Indian Journal of Clinical Biochemistry, 16(2), pp.153-160.
  • Funk, J., Oyarzo, J., Frye, J., Chen, G., Lantz, R., Jolad, S., Sólyom, A. and Timmermann, B. (2006). Turmeric Extracts Containing Curcuminoids Prevent Experimental Rheumatoid Arthritis#. Journal of Natural Products, 69(3), pp.351-355.
  • SHISHODIA, S., SETHI, G. and AGGARWAL, B. (2005). Curcumin: Getting Back to the Roots. Annals of the New York Academy of Sciences, 1056(1), pp.206-217.
  • Thangapazham, R., Sharma, A. and Maheshwari, R. (n.d.). BENEFICIAL ROLE OF CURCUMIN IN SKIN DISEASES. ADVANCES IN EXPERIMENTAL MEDICINE AND BIOLOGY, pp.343-357.
  • Sumiyoshi, M. and Kimura, Y. (2009). Effects of a turmeric extract (Curcuma longa) on chronic ultraviolet B irradiation-induced skin damage in melanin-possessing hairless mice. Phytomedicine, 16(12), pp.1137-1143.
  • Barzegar, A. and Moosavi-Movahedi, A. (2011). Intracellular ROS Protection Efficiency and Free Radical-Scavenging Activity of Curcumin. PLoS ONE, 6(10), p.e26012.
  • Chattopadhyay, I., Biswas, K., Bandyopadhyay, U., and Banerjee, R. (2019). Turmeric and curcumin: Biological actions and medicinal applications. Current Science, 87(1), pp.44-53.
  • Mishra, S. and Palanivelu, K. (2008). The effect of curcumin (turmeric) onAlzheimer′s disease: An overview. Annals of Indian Academy of Neurology, 11(1), p.13.
  • Kuttan, R., Bhanumathy, P., Nirmala, K. and George, M. (1985). Potential anticancer activity of turmeric (Curcuma longa). Cancer Letters, 29(2), pp.197-202.
  • Cole, G., Lim, G., Yang, F., Teter, B., Begum, A., Ma, Q., Harris-White, M. and Frautschy, S. (2005). Prevention of Alzheimer’s disease: Omega-3 fatty acid and phenolic anti-oxidant interventions. Neurobiology of Aging, 26(1), pp.133-136.
  • Zaman, S. and Akhtar, N. (2019). Effect of Turmeric (Curcuma longa Zingiberaceae) Extract Cream on Human Skin Sebum Secretion.
  • Srivilai, J., Phimnuan, P., Jaisabai, J., Luangtoomma, N., Waranuch, N., Khorana, N., Wisuitiprot, W., Scholfield, C., Champachaisri, K. and Ingkaninan, K. (2017). Curcuma aeruginosa Roxb. essential oil slows hair-growth and lightens skin in axillae; a randomised, double blinded trial. Phytomedicine, 25, pp.29-38.
  • Sarraf, P., Parohan, M., Javanbakht, M., Ranji-Burachaloo, S. and Djalali, M. (2019). Short-term curcumin supplementation enhances serum brain-derived neurotrophic factor in adult men and women: a systematic review and dose–response meta-analysis of randomized controlled trials. Nutrition Research, 69, pp.1-8.
  • Hurley, L., Akinfiresoye, L., Nwulia, E., Kamiya, A., Kulkarni, A. and Tizabi, Y. (2013). Antidepressant-like effects of curcumin in WKY rat model of depression is associated with an increase in hippocampal BDNF. Behavioural Brain Research, 239, pp.27-30.
  • Bengmark, S.; Mesa, M.a D.; Gil, A. (2009). Plant-derived health – the effects of turmeric and curcuminoids. Nutrición Hospitalaria, 24(3), pp. 273-281
  • Soni, K., Rajan, A. and Kuttan, R. (1992). Reversal of aflatoxin induced liver damage by turmeric and curcumin. Cancer Letters, 66(2), pp.115-121.
  • Jagetia, G. and Aggarwal, B. (2007). “Spicing Up” of the Immune System by Curcumin. Journal of Clinical Immunology, 27(1), pp.19-35.